สวัสดีครับเพื่อน ๆ จาก บทความที่แล้ว วันนี้ เราจะมาเข้าสู่หัวข้อที่ 7 กันครับ เนื้อหาจะเป็นอย่างไร มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง มาอ่านไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในหมวด ๕ แห่งประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนด
ชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน
ผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หมวด ๕
หน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน
ข้อ ๖ ผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
๖.๑ ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม
๖.๑.๑ ดูแลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงานทั้งการบำบัดมลพิษ
และการป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๖.๑.๒ ดูแลการจัดการมลพิษของโรงงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
๖.๑.๓ พิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ การบำบัด หรือการกำจัดมลพิษ
ของโรงงาน
๖.๑.๔ จัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อป้องกันไม่ให้มลพิษแพร่กระจายสู่
สิ่งแวดล้อม และหากเกิดเหตุฉุกเฉินให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็ว
๖.๑.๕ ตรวจสอบและรับรองรายงานผลวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษ
๖.๒ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ
๖.๒.๑ ตรวจสอบการทำงานและประเมินประสิทธิภาพของระบบป้องกัน
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ รวมถึงระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบบำบัดหรือกำจัดตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย
๖.๒.๒ ควบคุมดูแลและปรับปรุงการทำงานของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม
เป็นพิษ รวมถึงระบบบำบัดน้ำเสียและระบบบำบัดหรือกำจัดตะกอนจากระบบบำบัดนํ้าเสียให้เป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีการระบายน้ำทิ้งเป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด
หน้า ๔๘
เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๒๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕
๖.๒.๓ ป้องกันไม่ให้มีการระบายมลพิษผ่านทางลัด (By pass) และป้องกัน
ไม่ให้มลพิษระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผ่านการบำบัด
๖.๒.๔ เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม
เป็นพิษต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อม
๖.๒.๕ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดำเนินการแก้ไขตามแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน
ของโรงงาน และรายงานผลการดำเนินการต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข
๖.๒.๖ จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่กำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบาย
ออกจากโรงงาน ทั้งนี้ ต้องทำ การวิเคราะห์โดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของทางราชการหรือ
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของเอกชนที่ขึ้นทะเบียนต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม รายงานผลวิเคราะห์นี้
ให้เก็บรักษาไว้ที่โรงงานเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
๖.๒.๗ รายงานผลการตรวจสอบ ควบคุม และกำ กับดูแลการทำ งาน
ของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข
๖.๓ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ
๖.๓.๑ ตรวจสอบการทำงานและประเมินประสิทธิภาพของระบบป้องกัน
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ รวมถึงระบบบำบัดอากาศเสีย
๖.๓.๒ ควบคุมดูแลและแก้ไขปรับปรุงการทำงานของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม
เป็นพิษ รวมถึงระบบบำบัดอากาศเสีย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีการระบายมลพิษอากาศ
เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด
๖.๓.๓ เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม
เป็นพิษต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อม
๖.๓.๔ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดำเนินการแก้ไขตามแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน
ของโรงงาน และรายงานผลการดำเนินการต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข
๖.๓.๕ จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่กำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบาย
ออกจากโรงงาน ทั้งนี้ ต้องทำ การวิเคราะห์โดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของทางราชการหรือ
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของเอกชนที่ขึ้นทะเบียนต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม รายงานผลวิเคราะห์นี้
ให้เก็บรักษาไว้ที่โรงงานเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
๖.๓.๖ รายงานผลการตรวจสอบ ควบคุม และกำ กับดูแลการทำ งาน
ของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข
๖.๔ ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงงาน
ผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม
หน้า ๔๙
เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๒๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕
๖.๔.๑ ระบุและจำแนกกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย
ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน
๖.๔.๒ ควบคุมดูแลและตรวจสอบการคัดแยกและจัดเก็บกากอุตสาหกรรม
ที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตรายให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
๖.๔.๓ ตรวจสอบสถานที่จัดเก็บและภาชนะที่ใช้บรรจุให้เหมาะสมกับชนิด
หรือประเภทของกากอุตสาหกรรม และตรวจสอบการติดฉลากระบุชนิดของกากอุตสาหกรรม
๖.๔.๔ ตรวจสอบการนำกากอุตสาหกรรมออกไปกำจัดหรือบำบัดให้สอดคล้อง
กับการขออนุญาตนำกากอุตสาหกรรมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจสอบการจัดทำเอกสารกำกับการ
ขนส่งกากอุตสาหกรรมให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด และตรวจสอบการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด
ปริมาณ ลักษณะ คุณสมบัติ และสถานที่เก็บรักษากากอุตสาหกรรม รวมถึงวิธีการจัดการและการขนส่ง
๖.๔.๕ ติดตามการบำบัดและหรือกำจัดกากอุตสาหกรรมของผู้รับกำจัด
กากอุตสาหกรรม
๖.๔.๖ เสนอแนะแนวทางการจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อลดปริมาณ
กากอุตสาหกรรมหรือเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกากอุตสาหกรรมของโรงงานต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อม
๖.๔.๗ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดำเนินการแก้ไขตามแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน
ของโรงงาน และรายงานผลการดำเนินการต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข
๖.๔.๘ รายงานผลการตรวจสอบ ควบคุม และกำ กับดูแลการจัดการ
กากอุตสาหกรรมของโรงงานต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข
๖.๕ ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานผู้รับ
บำบัดหรือกำจัดกากอุตสาหกรรม
๖.๕.๑ ตรวจสอบลักษณะของกากอุตสาหกรรมที่รับมากำจัดหรือบำบัด
ให้สอดคล้องกับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
๖.๕.๒ ควบคุมดูแลและตรวจสอบการจัดเก็บกากอุตสาหกรรมให้ถูกต้อง
ตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับขนาดของพื้นที่จัดเก็บ และต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาเดือดร้อนรำคาญ
หรือปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
๖.๕.๓ ควบคุมดูแลการบำ บัดหรือกำจัดกากอุตสาหกรรมให้เป็นไปตาม
หลักวิชาการและเหมาะสมกับขีดความสามารถและใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และไม่ก่อให้เกิดปัญหา
มลพิษอื่นใดตามมา
๖.๕.๔ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดำเนินการแก้ไขตามแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน
ของโรงงาน และรายงานผลการดำเนินการต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข
๖.๕.๕ รายงานผลการตรวจสอบ ควบคุม และกำ กับดูแลการจัดการ
กากอุตสาหกรรมของโรงงานต่อผู้จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข
หน้า ๕๐
เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๒๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕
๖.๖ บริษัทที่ปรึกษามีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ
ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม ตามข้อ ๖.๒
ข้อ ๖.๓ ข้อ ๖.๔ และข้อ ๖.๕ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ การให้บริการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมประกาศกำหนด
๖.๗ ผู้ปฏิบัติงานประจำระบบบำบัดมลพิษน้ำและผู้ปฏิบัติงานประจำระบบบำบัด
มลพิษอากาศ
๖.๗.๑ ปฏิบัติหน้าที่ประจำเครื่องจักรของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ตลอดเวลาที่มีการเดินระบบ
๖.๗.๒ ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖.๗.๓ ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำหรือผู้ควบคุมระบบ
บำบัดมลพิษอากาศ แล้วแต่กรณี เพื่อป้องกันไม่ให้มลพิษแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม
๖.๗.๔ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดำเนินการแก้ไขตามแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน
ของโรงงาน และรายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำหรือผู้ควบคุมระบบบำบัด
มลพิษอากาศ แล้วแต่กรณี ทราบทันที
๖.๗.๕ รายงานผลการปฏิบัติการ ปัญหา และอุปสรรค ในการเดินระบบ
ป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษให้ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำหรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ
แล้วแต่กรณี เพื่อประโยชน์ในการสั่งปรับปรุงแก้ไข
๖.๘ ผู้ปฏิบัติงานประจำระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม
๖.๘.๑ คัดแยกและจัดเก็บกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย
ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
๖.๘.๒ ดำเนินการจัดการกากอุตสาหกรรมของโรงงานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
และไม่ก่อให้เกิดปัญหาเดือดร้อนรำคาญหรือปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
๖.๘.๓ ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม
เพื่อป้องกันไม่ให้มลพิษแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม
๖.๘.๔ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดำเนินการแก้ไขตามแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน
ของโรงงาน และรายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมทราบทันที
๖.๘.๕ รายงานผลการปฏิบัติการ ปัญหา และอุปสรรค ในการปฏิบัติงาน
ให้ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ในการสั่งปรับปรุงแก้ไข”

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เนื้อหา ในวันนี้ อาจจะเยอะไปสักหน่อยครับ แต่เราจะพยายามแบ่งส่วนมาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันเรื่อย ๆ ครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงอุตสาหกรรม

ห้างหุ้นส่วนจำกัด สวน-ทำเนียบ เอ็นจิเนียริ่ง

รับออกแบบระบบบำบัดกลิ่น บำบัดอากาศ บำบัดน้ำเสีย ตรวจวัดสภาพแวดล้อมประจำปี รับตรวจบอยเลอร์ รอก ลิฟท์ เครน ประจำปี เซ็นใบรับรอง รง.4 โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญในสาขา ที่นี่ที่เดียว ตั้งแต่เริ่มต้น จนจบพร้อมดำเนินงาน ยินดีให้คำปรึกษา